วัดทุ่งสิงโตบ้านไผ่ขวาง

ลพบุรี
วัดทุ่งสิงโตบ้านไผ่ขวาง
ต. เขาพระงาม อ. เมืองลพบุรี จ. ลพบุรี 15160

พิกัด

ถ้ำสิงโตหรือถ้ำไผ่ขวาง เป็นสถานที่ที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พิจารณาได้ในสมาธินิมิต เป็นสถานที่เร่งความเพียรทำให้หลวงปู่มั่นเกิดความรู้ชนิดหนึ่งขึ้นมา คือ รู้เห็นชาติภพในกาลก่อน ที่เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นตัววิปัสสนาญาณขึ้นมา นอกจากนี้ยังได้ความว่า ฐิติภูตัง คือ ดวงจิตเดิมของสรรพสัตว์ทั้งมวล ที่ยังมิได้อบรมศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนวทางแห่งพระสัพพัญญุตญาณนั้น ก่อให้เกิดอวิชชา และนิมิตเห็นสิงห์โตคู่หนึ่ง ก่อนที่สถานที่เเห่งนี้จะเป็นวัดขึ้นมาหลวงปู่ท่านได้เมตตาตั้งชื่อวัดให้จึงเป็นที่มาของชื่อ "วัดทุ่งสิงห์โต" มาจวบจนทุกวันนี้

ท่านพระครูโสภณกิจจารักษ์ (พระอาจารย์ณรงค์ กันตสีโล) แห่งวัดทุ่งสิงโตได้เมตตาเล่าให้ฟังถึงประวัติถ้ำสิงโตว่า เดิมเรียกถ้ำนี้ว่าถ้ำไผ่ขวางตามชื่อบ้าน คือบ้านไผ่ขวาง เมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่นจาริกธุดงค์มาเจริญสมณธรรมที่วัดเขาพระงามนั้น ท่านได้นิมิตว่า มีสิงโต 2 ตัว กำลังหยอกล้อกันอยู่หน้าถ้ำแห่งหนึ่งในเขาลูกนี้ ท่านจึงออกเดินธุดงค์มาจนพบถ้ำไผ่ขวาง ตั้งแต่นั้นมาจึงมีอีกชื่อเรียกอีกชือหนึ่งว่า ถ้ำสิงโตตามนิมิตของท่าน ต่อมาได้มีการสร้างวัดขึ้นที่เชิงเขาด้านล่างเมื่อ พ.ศ. 2459 จึงตั้งชื่อวัดว่า วัดทุ่งสิงโต สำเร็จเป็นวัดสมบูรณ์เมื่อปี 2470

หลังจากนั้นพระอาจารย์เสาร์และท่านพระอาจารย์มั่น ได้จาริกธุดงค์มายังถ้ำสิงโตนี้อีก 2-3 ครั้ง โดยท่านพระอาจารย์เสาร์ได้มาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ถ้ำเชิงเขาด้านล่าง ต่อจากนั้นก็จะมีศิษย์ของท่านจาริกธุดงค์มาบเพ็ญสมณธรรมยังถ้ำแห่งนี้อีกหลายรูป อาทิ หลวงปู่สิงห์ ท่านพ่อลีแห่งวัดอโศการาม หลวงปู่แหวน หลวงปู่ฟั่น หลวงปู่อ่อน หลวงปู่มหาบัว หลวงปู่ชา หลวงปู่วิริยังค์ หลวงปู่พุธ หลวงปู่วัน เป็นต้น ปัจจุบันก็ยังมีพระภิกษุจาริกธุดงค์มาบำเพ็ยสมณธรรมยังถ้ำนี้อยู่เนื่อง ๆ (หนังสือรำลึกวันวาน หน้า 32)

เร่งความเพียรที่ถ้ำไผ่ขวาง:
หลวงปู่มั่นก็พิจารณาว่าจะออกแสวงหาวิเวก ปรารถความเพียรต่อพิจารณาได้ในสมาธินิมิตว่า มีถ้ำ ๆ หนึ่งอยู่บนเขา มีลักษณะผินหน้าไปทิศนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ๆ ท่านจึงว่า เราควรไปเจริญสมณธรรมที่นั่น เมื่อได้โอกาสไปนมัสการกราบเรียนท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านบอกว่า ถ้ำที่ว่านี้ อยู่เขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ชื่อถ้ำสิงโตหรือถ้ำไผ่ขวาง ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ซื้อตั๋วรถไฟถวาย ท่านก็เดินทางจากกรุงเทพฯสู่ลพบุรีด้วยขบวนรถไฟ อยู่ที่นั่นมีโยมผู้หญิงมาถวายบิณฑบาต พร้อมกับบุตรสาวทุกวัน ด้วยความศรัทธาและเลื่อมใส มีเพื่อนสหธรรมมิก 4-5 รูป ท่านฯไม่ได้บอกว่า เพื่อนเหล่านี้อยู่ก่อนหรือหลัง แต่ทุกรูปก็ตั้งหน้าตั้งตาทำความเพียร ไม่รบกวนกัน ต่างคนต่างอยู่ นอกจากทำข้อวัตรต่าง ๆ เท่านั้นจึงรวมกัน

การเจริญสมณธรรมเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ พอถึงวันเพ็ญเดือน 3 พิจารณาได้ความว่า เราบำเพ็ญสมณธรรมมาถึงบัดนี้เป็นเวลา 12 ปี ทุกอย่างพร้อมแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์วัฎสงสารได้ในคืนวันเพ็ญนี้ พอรู้อย่างนี้แล้ว ก็เตรียมการงานที่เคยทำเป็นต้นว่า การปัดกวาดบริเวณกุฏิ ตลอดจนการสรงน้ำ จัดแจงที่อยู่ ที่นั่งให้พร้อม ถึงเวลาเดินจงกรมก็เดิน อได้เวลานั่งสมาธิก็นั่งหันหน้าสู่ทิศตะวันออก รู้สึกโล่งในจิตก็เข้าสมาธิทันที พอนั่งได้ไม่นานเกิดความวิตกกังวลขึ้นทางจิตใจ ทางร่างกายก็มีอาการเจ็บแสบโหมร้อนขึ้นมา แต่เรื่องนี้เคยผ่านมาแล้ว สมัยยังอยู่ถ้ำสาลิกา จึงพอระงับได้บ้าง พอจิตสงบหน่อยหนึ่ง จิตก็สว่างไปข้างหน้า ปรากฎเห็นหญิงผู้เป็นบุตรสาวของโยมอุปัฎฐาก ยืนร้องเรียกความรักจากท่านอยู่ ซึ่งปกติไม่เคยมี ไม่เคยพบเห็น ถือเป็นเรื่องธรรมดา จิตไม่เคยมีความยินดีอะไร แต่ในนิมิตปรากฏเช่นนั้น

ท่านพระอาจารย์ก็พิจารณาว่า อันเรื่องเกิดแก่เจ็บตาย เราก็ได้พิจารณามาอย่างช่ำชองแล้ว จะมาลงอีกหรือ พอกำหนดดังนี้ หญินั้นก็แก่เฒ่าล้มตายลงเหลือแต่กองกระดูกหายไปในแผ่นดิน จิตก็ถอนออกมาเป็นจิตธรรมดา ทุกขเวทนายังมีอยู่ จึงกำหนดจิตพิจารณาลงไปอีก ปรากฎเปนความสว่างออกไปข้างหน้า เมื่อจิตรวมแล้วเห็นคนใหญ่โตในความรู้สึกว่าเป็นยักษ์ เดินถือกระบองจากภูเขาข้างหน้าเข้ามาหา มีความรู้สึกว่า ยักษ์จะตีหัว พอได้สติก็นึกได้ทันทีว่า อำนาจใด ๆ ในโลกทั้ง 3 ไม่มีอำนาจอานุภาพใด จะเหนือพระพุทธานุภาพได้ พอกำหนดได้ดังนี้ ภาพนั้นก็หายไป

ท่านถอดจิตออกมาอีก คราวนี้เวทนา วิตก จากลงไปมาก แต่ยังไม่หมด ท่านกำหนดพิจารณาอีก จิตก็รวมลงไป ปรากฏว่าฝนตกน้ำนอง ชุ่มชื้นขึ้นมา มีกำลังปีตาซาบซ่านไปทั่ว มีความสุขและจิตเข้าถึงเอกัคคตาญาณ มีกายสงบ จิตสงบ กายเบา จิตเบา กายความแก่การงาน จิตควรแก่การงาน จิตก็ก้าวลงสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌานโดยลำดับ พักอยู่ในจุดจตุตฌานนานพอสมควรจิตก็ถอยอกมาสู่ ตติยฌาน ทุติยฌาน ถึงปฐมฌานหยุดอยู่แค่นี้

เกิดความรู้ชนิดหนึ่งขึ้นมา คือ รู้เห็นชาติภพในกาลก่อน ที่เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นตัววิปัสสนาญาณขึ้นมาว่า ปัจจุบันเราเป็นอย่างนี้ ในอดีตชาติเราเกิดอยู่บ้านเมืองนั้น ประเทศนั้น มีอาหารอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีความสุขอย่างนั้น มีทุกข์อย่างนั้น เป็นลำดับไป จนถึงครั้งเป็นเสนาบดี นั่งฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์ และได้ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์เป็นเวลาผานมา 4-500 ชาติจึงระลึกได้ว่า การที่เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ก็เพราะจิตดวงนี้ พอพักจิตได้ จิตก็หยุด ก้าวลงสู่ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌาน ปฐมยามผ่านไป พอเข้ามายามที่ 2 มัชฌิมยาม จิตก็พักเอากำลังต่อ จิตอยู่ในฌานนี้คือ การพักเอากำลัง ส่วนปฐมฌานนั้น คือการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เปรียบด้วยการทำงานแล้วพักผ่อนเอากำลัง ท่านพระอาจารย์ว่าพอจิตพักอยู่ในจุตตถฌานมีกำลังแล้ว ก็ถอยออกมาโดยลำดับทุติยฌานและตติยฌานคือทางผ่าน ท่านฯออกมาถึงปฐมฌาน เกิดวิปัสสนาญาณเห็นภพและชาติ และธาตุขันธ์ซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์โลก เริ่มแต่บิดามารดาเป็นต้นไป ว่าคนนั้น ชาตินั้น ได้เกิดเป็นคนเป็นสัตว์ มีอาหาร มีรูปร่าง มีการงาน ทำอย่างนั้น ได้สุขได้ทุกข์อย่างนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ก็เพราะอาศัยจิตดวงนี้ จิตก็หยุด ก้าวเข้าสู่ ทุติยฌาน ตติยฌาน และจุตตถฌานตามลำดับอีก เพื่อพักเอากำลังมัชฌิมยามผ่านไป ในปัจฉิมยาม คือยามภายหลังแห่งค่ำคืนวันนั้น พอจิตพักได้กำลังแล้ว ก็ถอยออกมาสู่ปฐมฌาน อันเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนาญาณ จิตก็พิจารณา ปัจจยาการ คือ อาการของปัจจัย เกิดมีคำใหม่เพิ่มขึ้นอีกว่า

ฐิติภูตัง อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ฯลฯ ถึง โทมมนัสสะ สุปายาสา สัมภวนติ

ได้ความว่า ฐิติภูตัง คือ ดวงจิตเดิมของสรรพสัตว์ทั้งมวล ที่ยังมิได้อบรมศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนวทางแห่งพระสัพพัญญุตญาณนั้น ก่อให้เกิดอวิชชา

อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป
นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ
สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ
ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ
ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรา พยาธิ มรณะ โสกปริเทวนา

ร้องไห้พิไรรำพันถึงกัน จนเกิดโทมมนัส ใจไม่ดี อุปายาสะ คับแค้นแน่นใด ว่าแล้วท่านพระอาจารย์ก็ เอวเมตสส เกวลสส สมุทโยโหติ ที่สัมพันธ์กันเกิดเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อย่างนี้ ท่านพระอาจารย์ว่า เมื่อจิตได้อริยมรรคญาณแล้ว จิตดวงเดิมคือ ฐิติภูตัง เป็นฐิติญาณเป็นเครื่องตัดขาดจากอวิชชา

เมื่ออวิชชาไม่กาะเกี่ยวได้แล้ว จึงเป็นอวิชชาย ตเวว อเสสา สังขารานิโรโธ สังขารานิโรธา วิญญาณนิโรโ วิญญาณริโรธา จนถึง ตัณหานิโรโธ ตัณหนิโรธา ภาวนานิโรโธ ภาวนานิโรธา ชาตินิโรธ ชาตินิโรธา ชรามรณัง โสกปริเททุกขัง โทมมนัส นิรุชฌนติ ได้ความว่า เมื่อวิชชาดับสังขารก็ดับ สังขารดับวิญญาณก็ดับ ตลอดจน ฯลฯ ถึงตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โลกปริเทวะทุกข์โสมมนัส อุปายาสะ ก็ดับหมด ท่านว่า เอวเมตสส เกวลสส ทุกขกขนธสส นิโรโหติ เป็นความดับขันธ์ อันเป็นทุกข์อย่างเดียวนั้น นั่นแล ท่านว่า

พอมาถึงตอนนี้จิตก็วางการพิจารณา แล้วจิตก็รวมใหญ่ รวมคราวนี้จิตไม่พักเหมือนข้างต้น เกิดมีญาณตัดสินขึ้นมาว่า ภพเบื้องหน้าเราไม่มีแล้ว พรมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจอันควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ควรไม่มีอีกแล้ว ญาณชนิดนี้เรียกว่า อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ว่าความสิ้นไปแห่งอาสวะพร้อมกับอวิชชาหายไป ไม่ก่อนไม่หลังตะวันขึ้นมาและเดือนก็ตกไป รวมความว่าญาณเกิดขึ้น อวิชชากายไป พระอาทิตย์ขึ้นมา พระจันทร์ตกไป เรียกว่า อปุพพัง อจิระมัง ไม่ก่อนไม่หลัง ท่านพระอาจารย์ว่านะ ไม่ใช่ผู้เล่าว่าเอง

พระอาจารย์ยังเล่าต่อไปว่าเมื่อญาณเกิดขึ้นก็ไม่ได้ขับไล่ไสส่งอวิชชาเจ้าผู้อวิชชาเอ๋ย เจ้าเป็นผู้ไม่รู้ไม่เห็น เจ้าจงหนีไป อยู่กับข้าไม่ได้แล้ว และอวิชชาก็ไม่ได้บอกหล่าวอำลาว่าญาณผู้แจ้งผู้เห็นจริงเจ้าเป็นผู้รู้ผู้เห็นเอ๋ย ข้าอยู่กับเจ้าไม่ได้แล้ว ข้าขอลาเจ้าไปก่อน ต่างไม่ได้ขับไล่ แต่ท่านว่า ความมืดและพระอาทิตย์ก็เหมือนกันพระอาทิตย์ขึ้นมาความมืดก็หายไป พระอาทิตย์ก็ไม่ได้ขับไล่ไสส่งความมือหรือพระจันทร์ จะว่า เจ้าผู้มืดผู้ดำเอ๋ย เจ้าอยู่กับข้าไม่ได้แล้ว เจ้าจงหนีไปความมืดก็ไม่ได้บอกกล่าว อำลา หรือไม่ได้ว่าพระอาทิตย์ผู้แจ้งผู้สว่าง ผู้มีเดชอันกล้าเอ๋ย ข้าอยู่กับเจ้าไม่ได้แล้ว ข้าขอลาเจ้าไปก่อน หาใช่อย่างนั้นไม่ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมาความมืดก็หายไปฉันใดก็ฉันนั้น

พอรุ่งเช้าท่าลุกจากทำสรีรกิจ และวัตรที่เคยประพฤติเป็นปกติ ท่านบอกกับเพื่อนว่า ของดฉันภัตตาหาร 7 วันส่วนเพื่อนสหธรรมิก ผู้ก้มหน้าก้มตาบำเพ็ญเพียร คงไม่รู้หรอกว่า ใครทำอะไรที่ไหน กับใคร ตั้งแต่เมื่อไหร่ “เราก็ไม่รู้เหือนกันว่า เพื่อนเจริญสมณธรรม จิตเป็นอย่างไร เพราะเรื่องอย่างนี้เป็น ปัจจัตตัง เวทิพตโพ วิญญูหิ” ท่านว่า การงดฉันอาหานั้น เพื่อทำให้วสีห้าเป็นธรรมชาติ คล่องแคล่วชำนาญและเสวยผลแห่งมรรค ท่านฯว่า พอผ่านไป 4 วัน โยมอุปัฎฐากพร้อมทั้งบุตรสาว นำภัตตาหารมาถวาย พูดวิงวอนวา “พระคุณเจ้าอดมาหลายวันแล้วจะหิว จะลำบาก ขอนิมนต์ฉันเจ้าข้า ๆ” ท่านก็ลองฉันพอฉันเสร็จโยมกลับไป มาพิจรณาเกิดไม่คล่องแคล่ว อืดอาดแต่ทำได้อยู่นี้มันอะไร ได้ความว่า เพราะเสียสัจจะ ท่านเลยงดฉันภัตตาหารต่ออีก 3 วันครบแล้วจึงฉัน ก็คล่องแคล่วอีก ทุกอย่างก็เลยละเอียดอ่อนไปหมด
นี่คือ มรรคผลคุณวิเศษในพระพุทธศาสนานี้

วัดทุ่งสิงโต ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ต.เขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี เป็นวัดที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีเนื้อที่ถึง 180 ไร่

บริเวณที่ตั้งของวัดเป็นทุ่งกว้างเชิงเขามีความงดงามตามธรรมชาติอย่างยิ่ง คือมีทั้งขุนเขา แมกไม้ และทุ่งโล่ง บรรยากาศสงบร่มรื่นห่างไกลจากเสียงอึกทึกคึกโครม วัดนี้มีถ้ำที่สวยงามเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางใจ ถึง 6 ถ้ำ คือ ถ้ำวิเวก ถ้ำประสิทธิ์ธรรม ถ้ำสุขสำราญ ถ้ำสุขเกษม ถ้ำนาค ถ้ำแจ้ง การคมนาคมไปสู่วัดนี้มีความสะดวกสบายทุกฤดูกาล
ท่านพระครูโสภณกิจจารักษ์ (พระอาจารย์ณรงค์ กันตสีโล) แห่งวัดทุ่งสิงโตได้เมตตาเล่าให้ฟังถึงประวัติถ้ำสิงโตว่า เดิมเรียกถ้ำนี้ว่าถ้ำไผ่ขวางตามชื่อบ้าน คือบ้านไผ่ขวาง เมื่อครั้งที่พระอาจารย์มั่นจาริกธุดงค์มาเจริฐสมณธรรมที่วัดเขาพระงามนั้น ท่านได้นิมิตว่า มีสิงโต 2 ตัว กำลังหยอกล้อกันอยู่หน้าถ้ำแห่งหนึ่งในเขาลูกนี้ ท่านจึงออกเดินธุดงค์มาจนพบถ้ำไผ่ขวาง ตั้งแต่นั้นมาจึงมีอีกชื่อเรียกอีกชือหนึ่งว่า ถ้ำสิงโตตามนิมิตของท่าน ต่อมาได้มีการสร้างวัดขึ้นที่เชิงเขาด้านล่างเมื่อ พ.ศ. 2459 จึงตั้งชื่อวัดว่า วัดทุ่งสิงโต สำเร็จเป็นวัดสมบูรณ์เมื่อปี 2470

หลังจากนั้นพระอาจารย์เสาร์และท่านพระอาจารย์มั่น ได้จาริกธุดงค์มายังถ้ำสิงโตนี้อีก 2-3 ครั้ง โดยท่านพระอาจารย์เสาร์ได้มาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ถ้ำเชิงเขาด้านล่าง ต่อจากนั้นก็จะมีศิษย์ของท่านจาริกธุดงค์มาบเพ็ญสมณธรรมยังถ้ำแห่งน้อีกหลายรูป อาทิ หลวงปู่สิงห์ ท่านพ่อลีแห่งวัดอโศการาม หลวงปู่แหวน หลวงปู่ฟั่น หลวงปู่อ่อน หลวงปู่มหาบัว หลวงปู่ชา หลวงปู่วิริยังค์ หลวงปู่พุธ หลวงปู่วัน เป็นต้น ปัจจุบันก็ยังมีพระภิกษุจาริกธุดงค์มาบำเพ็ญสมณธรรมยังถ้ำนี้อยู่เนื่อง ๆ (หนังสือรำลึกวันวาน หน้า 32 )


วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

รูปภาพ


ดูเส้นทางท่องเที่ยวแนะนำ


แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง

แหล่งท่องเที่ยวบ้านหนองโขลง

1.02 ชม. 55 กม.
ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองโขลง
https://www.facebook.com/BAANHNONGKHLONG/



พิกัด

บ้านดินมดแดง

42 นาที 38.2 กม.

มีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจวิธีการสร้างบ้านดิน จึงเปิดโอกาสให้กับกลุ่มนักศึกษา หรือ บุคคลทั่วไป สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ เทคนิคต่างๆ ในการสร้างบ้านดินกันแบบ ฟรีๆ เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกดิน ไปจนถึงการสร้าง และ ตกแต่งบ้านดินให้สวยงาม ที่นี่พร้อมจะมอบความรู้และแบ่งปันเทคนิคต่างๆ ในการสร้างบ้านดินให้เลย นอกจาก "มดแดง" แล้ว ในร้านก็ยังมีของตกแต่งบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากดินเผาทั้งหมด

ใน "บ้านดินมดแดง" มีกิจกรรมให้ร่วมสนุกกันมากมาย และที่ "บ้านดินมดแดง" ยังเปิดให้ชาวบ้าน กลุ่มท้องถิ่น นำของมาฝากขายกันได้ที่นี่

: 98/2 หมู่ 5 ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัด ลพบุรี 15000
โทร. 081 - 5509697 (ตุ้ย - ประดิษฐ์ โรจนพร)

พิกัด

ทุ่งทานตะวันเขาจีนแล

36 นาที 29 กม.

ทุ่งทานตะวันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่กว้างใหญ่มาก กว่า 1400 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณเขาจีนแล ใกล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม อำเภอเมืองและเป็นทุ่งทานตะวันที่ใกล้ตัวเมืองลพบุรีมากที่สุดประมาณ 10 กิโลเมตรเท่านั้น ด้านหลังสวยงามด้วยภูเขาเรียกว่า เขาจีนแลถือว่าเป็นทุ่งทานตะวันที่สวยที่สุดของจังหวัดลพบุรี

พิกัด

พระปรางค์สามยอด

22 นาที 17 กม.

พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานและ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นปราสาทขอมในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 - 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขะแมร์ แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร

พิกัด

© บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)