วัดศรีอุบลรัตนาราม

อุบลราชธานี
วัดศรีอุบลรัตนาราม
ต. ในเมือง อ. เมือง จ. อุบลราชธานี 34000

พิกัด

วัดศรีทอง หรือ วัดศรีอุบลรัตนาราม เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2436 ก่อนที่จะเดินทางไปอยู่ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี กับ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และธุดงค์ไปที่ประเทศลาวด้วยกัน

วัดศรีอุบลรัตนาราม เดิมชื่อ วัดศรีทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ พระแก้วบุษราคัม ปัจจุบันมีพระวินัยโกศล (ทองคู่ ป.ธ.๖) เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ภายในวัดมีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร กทม. เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จ.อุบลราชธานี ที่มีความงามสง่าตามพุทธลักษณะอีกทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม ที่ภายในเก็บรวบรวมโบราณวัตถุน่าสนใจไว้มากมาก อาทิ พระพุทธรูปแกะจากไม้ ตู้เก็บพระไตรปิฎกที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ตู้เก็บคัมภีร์ใบลาน บาตรและเชิงบาตรสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

ดูเส้นทางท่องเที่ยวแนะนำ


แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง

ทุ่งศรีเมือง

ทุ่งศรีเมือง เดิมชื่อ "นาทุ่งศรีเมือง" เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีตของจังหวัดอุบลราชธานี เดิมเป็นที่ทำนาของเจ้าเมืองอุบลราชธานี และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์ของเจ้าเมืองและเจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไล

พิกัด

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี

เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและเพื่อให้เป็นศูนย์อนุรักษ์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

พิกัด

วัดสุปัฏนาราม

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิกัด

วัดทุ่งศรีเมือง

ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมอันงดงามมากมาย เริ่มต้นกันด้วย “หอไตรกลางน้ำ” หอพระไตรปิฏกที่สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างศิลปะของไทย ลาว และพม่า

พิกัด

วัดมหาวนาราม

เดิมชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ นิยมเรียกว่า วัดป่าใหญ่ เป็นพระอารามหลวง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี

พิกัด

หาดวัดใต้

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งเดียวที่อยู่ในเขตเทศบาลนคร เกาะกลางแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ใกล้คุ้มวัดใต้ เอกลักษณ์ของการข้ามไปบนเกาะแห่งนี้คือสะพานไม้ไผ่ซึ่งถือว่าเป็นสะพานไม้ไผ่ที่ยาวถึง 250 เมตร

พิกัด

© บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)