วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร
ภายในวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหารมี
ถ้ำภัทราวุธโท : สถานที่สนทนาธรรมของพระครูอุบาลีกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดยท่านเจ้าคุณพระครูอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) หลังจากท่านได้สมโภชพระประธานที่ศาลาการเปรียญที่วัดบรมนิวาสแล้วได้ไปพักที่ถ้ำภัทราวุธโทเห็นเป็นสถานที่สำราญดีจึงเลือกมาปฏิบัติธรรม ณ ถ้ำแห่งนี้ ในปี พ.ศ. 2455
ท่านเจ้าคุณพระครูอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) หลังจากท่านได้สมโภชพระประธานที่ศาลาการเปรียญที่วัดบรมนิวาสแล้ว ได้ออกไปรุกขมูล 3 รูป คือ ท่านเจ้าคุณพระครูอุบาลีคุณูปมาจารย์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชกวี พระครูปลัดอ่ำ ภัทราวุธโท และพระฐิตวีโร ได้เข้าไปพักที่ถ้ำเขาพระงามเห็นเป็สถานที่สำราญดี พระครูปลัดจึงได้ปรึกษากับท่านเจ้าคุณขอลาการงานออกไปพักเพื่อหาที่วิเวกส่วนตน ได้รับอนุญาตตามความประสงค์ เดือน ๘ ทุติยมาส ได้ให้พระทาคอยอยู่ที่ถ้ำ พระครูปลัดกลับเข้ากรุงเทพฯ เพื่อส่งท่านเจ้าคุณ ครั้นถึงเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ได้พาพระสังกิจโจ ลำเจียก ผู้เป็นอันเตวาสิก ออกมาจำพรรษาอยู่ที่เขาพระงามรวมเป็น 3 รูปด้วยกัน
วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร หรือที่ชาวลพบุรีเรียกว่า "วัดเขาพระงาม"
ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปตามถนนสายลพบุรี-โคกสำโรง ระยะทางประมาณ 12.5 กิโลเมตร พื้นที่ตั้งของวัดมีเนื้อที่ 99 ไร่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2466 และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ 2499
วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร (วัดเขาพระงาม) ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเชิงเขาพระงาม ซึ่งเดิมมีชื่อเรียกว่า “เขาบ่องาม” เนื่องจากสภาพที่ตั้งเป็นภูเขาและมีบ่อน้ำตามธรรมชาติที่มีลักษณะสวยงามปรากฏอยู่ สถานที่ตั้งวัดอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธินไปประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี เดิมเป็นวัดร้าง สร้างมาแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่มีหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุในบริเวณวัดมากมาย อาทิ ซากฐานพระสถูปเจดีย์เก่าบนยอดเขา ซากกำแพงเก่าที่ปรากฏบริเวณเชิงเขา และ พระพุทธไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในถ้ำพญามังกร (ถ้ำภัทราวุโธ) ซึ่งสร้างด้วยศิลาแลงศิลปสมัยทวารวดี ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดร้างที่สร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
ปี พ.ศ. 2455 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็น “พระราชกวี” ซึ่งเป็นพระเถระที่เป็นกำลังสำคัญในการวางรากฐานการศึกษาและจัดการพระพุทธศาสนาของประเทศไทยให้มีความมั่นคงและก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคอีสาน เป็นผู้สอนธรรมะให้แก่พระเถระองค์สำคัญในธรรมยุติกนิกายหลายรูป รวมถึงพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งพระกรรมฐานสายวัดป่า ได้พาพระครูปลัดอ่ำซึ่งเป็นน้องชายของท่าน และพระมหาทา ( ฐิตวีโร) ออกเดินทางเพื่อหาสัปปายะสถานในการเจริญวิปัสสนา พระเถระได้เดินทางมาถึงแขวงเมืองลพบุรีซึ่งมีเขาและถ้ำค่อนข้างมาก
เมื่อเดินทางถึง “ถ้ำเขาบ่องาม” เห็นว่าเงียบสงัดดี ถ้ำอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 50 เส้น (2 กิโลเมตร) ยังว่างอยู่ ไม่มีพระสงฆ์ใดไปอาศัย ตัวปากถ้ำมีรูปร่างเป็นเงื้อมปากมังกรผินหน้าสู่ทิศตะวันออก เวลาบ่ายจะได้รับเงาจากภูเขาเย็นสบายดี คิดว่าเป็นมงคลสถาน แม้พระครูปลัดอ่ำที่ไปด้วยก็ชอบใจ ถึงขนาดขอลาออกจากตำแหน่งพระครูปลัดมาจำพรรษาที่ถ้ำนี้ พระราชกวีก็มีดำริว่าเมื่อออกพรรษาแล้วก็จะมาอยู่ด้วยกันที่นี้
เจ้าอาวาสวัด
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ จาริกแสวงหาสถานที่อันเป็นสัปปายะมาเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ ได้เดินทางถึงบริเวณเขาพระงาม และมีดำริที่จะสร้างวัดนี้ให้เป็นสถานที่ในการเจริญวิปัสสนา โดยการเดินทางมาครั้งนั้นได้มีลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดและเป็นน้องชายของท่านเดินทางมาด้วย คือพระปลัดอ่ำ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระเทพวรคุณ (อ่ำ ภทฺราวุโธ) และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาพระงามรูปแรก
จากประวัติของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ยังทราบอีกว่าท่านมีลูกศิษย์ที่เป็นพระใกล้ชิดและไว้ใจได้หลายรูป หนึ่งในนั้นก็คือพระราชมุนี (ศรีนารโท) ซึ่งมีภูมิลำเนาเดียวกับท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ คือ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาพระราชมุนีได้เป็นเจ้าอาวาสวัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความเกี่ยวข้องของวัดเขาพระงามกับวัดนิเวศธรรมประวัติจึงเชื่อมโยงกันจากการเป็นอันเตวาสิกของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
การมาบูรณะและสร้างวัดเขาพระงามที่เมืองลพบุรีของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ถือเป็นจุดกำเนิดสำคัญที่ทำให้พระปฏิบัติดีหลายๆรูปได้เข้ามาจำพรรษาและสร้างความเจริญให้แก่ชุมชน รวมไปถึงการขยายวัดสาขาในสายธรรมยุติกนิกายในอำเภอต่างๆของจังหวัดลพบุรี โดยวัดเขาพระงามมีบทบาทสำคัญในการส่งพระสงฆ์ที่มีความรู้ไปประจำตามวัดสาขาต่างๆ เพื่อให้เป็นผู้นำทางปัญญาให้แก่ชุมชน
ปูชนียวัตถุที่สำคัญภายในวัด
|
|
พระปรางค์สามยอด
22 นาที 17 กม.
พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานและ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นปราสาทขอมในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 - 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขะแมร์ แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร
พิกัด
สวนสัตว์ลพบุรี
18 นาที 13.4 กม.
สวนสัตว์สระแก้ว หรือ สวนสัตว์ลพบุรี ตั้งอยู่ด้านหลังโรงภาพยนตร์ทหารบกหรืออยู่ห่างจากวงเวียนสระแก้วไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร สวนสัตว์แห่งนี้สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2483 สมัย จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่หายากของไทย ได้พยายามปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ของกองทัพบกประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นสวนสัตว์ และเป็นสถานที่พักผ่อนแห่งที่ 2 ของประเทศไทยรองลงมาจากสวนสัตว์ดุสิต(เขาดิน)และได้นำสัตว์ที่จับได้จากป่าธรรมชาติประชาชนนำมาบริจาคและบางส่วนได้นำมาจากสวนสัตว์ดุสิต เช่น กวางดาว เป็นต้น
พิกัด
![]() |