วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้จำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม 1 พรรษา ในขณะจำพรรษานั้นท่านได้มอบมรดกธรรมชิ้นสำคัญไว้ คือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ ซึ่งเป็นธรรมบรรยายลายมือของหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นหลักฐานลายมือเพียงชิ้นเดียวที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ในวันธรรมสวนะ หลวงปู่มั่นได้สดับพระธรรมเทศนา จากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นประจำ ส่วนท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ เมื่อเทศน์เสร็จแล้ว มักจะสนทนาธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นเสมอ
ตามที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ตามปกติในถ้ำสิงโต จังหวัดลพบุรีนั้น ได้ระลึกถึงท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ที่จำจัดอยู่ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ครั้นเมื่อท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) มาที่เขาพระงามก็ไปนมัสการและสนทนาปรารัยตามปกติ และได้ถามว่า เมื่อคืนวันที่ 10 ค่ำที่แล้ว คือ เดือน 8 ท่านเจ้าคุณนั่งสมาธิอยู่ที่สาลาเหลือง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 23.00 น. ได้พิจารณาถึงปฏิจจสมุปบาท หวนกลับไปกลับมา แล้วเกิดความสงสัยขึ้นมาตอนหนึ่งใช่ไหมครับ ท่านเจ้าคุณอุบาลี เมื่อได้ฟังคำถามเช่นนั้นถึงกับตกตะลึง ไม่นึกว่าหลวงปู่มั่นจะมาล่วงรู้การพิจารณาของเราที่ได้พิจารณาด้วยตนเองโดยมิได้บอกให้ใครรู้เลย
หลังจากนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีก็ได้เดินทางกลับไปที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร ได้ประกาศคุณความดีของหลวงปู่มั่นให้แก่ภิกษุสามเณรทั้งหลายฟัง ทำให้ภิกษุสามเณรผู้ใคร่การปฏิบัติธรรมสนใจในหลวงปู่มั่นมากขึ้น ต่างต้องการจะไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่าน หลวงปู่มั่นได้รับการร้องขอจากท่านเจ้าคุณอุบาลีได้นิมนต์ให้ไปจำพรรษาในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2457 เพื่อให้การอบรมด้านวิปัสสนากรรมฐานให้แก่พระสงฆ์สามเณรและฆราวาส ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีจุดเด่นคือเป็นวัดกลางเมือง ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์การค้า 2 แห่ง คือสยามพารากอนและเซ็นทรัลเวิลด์ วัดสถาปนาขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2400 และฉลองพระอารามในปี พ.ศ. 2410
วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร มีชื่อเสียงจากป่ากลางเมือง หรือที่เรียกว่า "สวนป่าศาลาพระราชศรัทธา" ที่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมอย่างหนาแน่น จนแทบไม่เห็นอาคารสูงโดยรอบ เสมือนอยู่ในป่า จึงเป็นสถานที่สำหรับการเจริญธรรมวิปัสสนา นั่งสมาธิ และฟังธรรม วัดแห่งนี้ยังได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2556 อีกด้วย
พระวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระเสริม และ พระแสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่แบบศิลปะล้านช้างเวียงจันทน์ ส่วนพระอุโบสถประดิษฐาน พระไส หรือ พระสายน์ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว พระพุทธรูปทั้งสองต่างล้วนนำมาประดิษฐานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
|
สวนเกร็ดพุทธ
38 นาที 25.6 กม.
สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ จัดอบรมประชุมสัมมนา ศึกษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ปฏิบัติธรรมสงบจิตใจ แหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมหลากหลายวิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปกรรม จิตรกรรม และหัตถกรรม อาหารพื้นบ้านและเครื่องดื่มสมุนไพร ชมไม้ดอกนานาพันธุ์ บนเนื้อที่ 8 ไร่ และสวนผลไม้ การเข้าชมบริจาคบำรุงสถานที่ตามศรัทธา
พิกัด
เสาชิงช้า
116 นาที 5.3 กม.
เสาชิงช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พิกัด
![]() |