วัดเลียบ
วัดเลียบ เป็นวัดหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากมีความเเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ 2 รูป ที่เป็นต้นธารแห่งสายพระกัมมัฏฐาน คือ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กล่าวคือ เมื่อหลวงปู่มั่นได้อุปสมบทแล้ว จึงมาศึกษาวิปัสสนาธุระกับหลวงปู่เสาร์ที่วัดแห่งนี้
วัดเลียบ อุบลราชธานี เดิมเป็นสำนักสงฆ์สายวิปัสนา สร้างเมื่อ พ.ศ.2391 ตรงกับปลายรัชกาลที่ 3 ชื่อของวัดเลียบ น่าจะมาจากการที่เป็นวัดที่สร้างขึ้นเลียบคูเมือง ในแนวกั้นแม่น้ำมูล ซึ่งต่อมาคือถนนเขื่อนธานีนั่นเอง สำนักสงฆฺแห่งนี้ มีอายุได้ 44 ปี มีเจ้าอาวาสปกครองมา 10 รูป จนถึงยุคท่านพระอาจารย์ทิพย์เสนา ทิพฺพเสโน (แท่นทิพย์) ได้มรณะภาพ ก็ไม่มีพระสงฆ์รูปใดครองสำนักสงฆ์แห่งนี้เป็นเวลาร่วมสิบปี
ต่อมาหลวงปู่เสาร์ กนฺสีโล ได้มาบุกเบิกสร้างวัดเลียบและเป็นเจ้าอาวาส ตรงกับปี พ.ศ.2435 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานเป็นวิสุงคามสีมาตามพระราชโองการที่ 87/303 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นวัดฝ่ายธรรมยุตที่สืบทอดเจตนารมณ์ของหลวงปู่เสาร์ กนฺสีโล ต้นธารแห่งสายพระกัมมัฏฐานองค์สำคัญสืบต่อมาตราบจนกระทั่งปัจจุบัน
นับจากพระครูวิเวกพุทธกิจ หรือหลวงปู่เสาร์ กนฺสีโล เป็นเจ้าอาวาสระหว่างปี พ.ศ.2435-2445 (10 ปี) จนถึงปัจจุบัน วัดเลียบมีเจ้าอาวาสมาแล้ว 8 รูป เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระครูอุบลคณาภรณ์ (วีระชัย อริญฺชโย บุตราช) พ.ศ.2542-ปัจจุบัน
ทุ่งศรีเมือง
ทุ่งศรีเมือง เดิมชื่อ "นาทุ่งศรีเมือง" เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีตของจังหวัดอุบลราชธานี เดิมเป็นที่ทำนาของเจ้าเมืองอุบลราชธานี และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์ของเจ้าเมืองและเจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไล
พิกัด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและเพื่อให้เป็นศูนย์อนุรักษ์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
พิกัด
วัดสุปัฏนาราม
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิกัด
วัดศรีอุบลรัตนาราม
เดิมชื่อ วัดศรีทอง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ พระแก้วบุษราคัม
พิกัด
วัดทุ่งศรีเมือง
ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมอันงดงามมากมาย เริ่มต้นกันด้วย “หอไตรกลางน้ำ” หอพระไตรปิฏกที่สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างศิลปะของไทย ลาว และพม่า
พิกัด
![]() |